ReadyPlanet.com
dot dot
dot
รายการสินค้า
dot
bulletTemperature Controller เครื่องควบคุมอุณหภูมิ คืออะไร และมีประเภทแบบไหนบ้าง
bulletTAIE Temperature controller
bulletเทอร์โมคัปเปิล Thermocouple / RTD PT 100 อาร์ทีดี
bulletฮีตเตอร์ HEATER
bulletฮีตเตอร์ต้มน้ำ ฮีตเตอร์จุ่ม Immersion Heater
bulletฮีตเตอร์รัดท่อ Band Heater
bulletฮีตเตอร์ครีบ Finned Heater
bulletฮีตเตอร์แท่ง Cartridge Heater
bulletฮีตเตอร์แผ่น Strip Heater
bulletบ็อบบิ้นฮีตเตอร์ Bobbin Heater
bulletฮีตเตอร์อินฟราเรด INFRARED HEATER
bulletKOYO Rotary Encoder
bulletKOYO Digital Preset Counter
bulletMEANWELL สวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย Switching Power Supply
bulletสายเทอร์โมคัปเปิล สายอาร์ทีดี สายPT100
bulletSCR Power Regulator
bulletOhkura Recorder เครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบใช้กระดาษ
bulletINOR Thermocouple Transmitter /RTD Transmitter
bulletHumidity transmitter เครื่องวัดความชื้น,อุณหภูมิและแปลงสัญญาณ
bulletบริการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิ (Temperature Calibration)
bulletHANYOUNG NUX
bulletSENECA
bulletPILZ/Emergency Safety Relays
bulletInductive Proximity Sensor
bulletCapacitive Proximity Sensor
bulletKOYO PLC
bulletTOHO/Temperature controller
bulletAnalog Temperature Controller
bulletDigital Temperature Controller
bulletRelay Module
bulletFLOAT LEVEL SWITCH สวิทช์ลูกลอยวัดระดับน้ำ
bulletAXIAL FAN 6" SUNON
bulletCOMMONWEALTH
bulletFan and Filter
bulletCooling Fan /Axial Fan/CENTRIFUGAL SINGLE INLET FANS/Backward-curved centrifugal fans
bulletSUNON AXIAL AC FAN 4"
bulletPaperless Recorder/เครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบไม่ใช้กระดาษ
bulletDaiichi
bulletPOWER ANALYZER
bulletHumidity and Temperature Meter
bulletThermo-Hygrometer/เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น,THERMOMETER
bulletLux meter,Light meter
bulletAnemometers เครื่องวัดความเร็วลม
bulletSound Level Meters /เครื่องวัดระดับเสียง
bulletTemperature Indicator/เครื่องแสดงค่าอุณหภูมิ
bulletSolid State Relay 40A 80A"CLION"
bulletHumidity and Temperature Transmitter
bulletSV8 Digital Indicator
bulletMulti Function Panel Meter
bulletDigital Voltage Meter
bulletDigital Ampere Meter
bulletDPF Line Speed Meter
bulletPreset Counter 72x72mm.
bullet Preset Counter 48X96 mm.
bulletOMRON
bulletSolid State Relay 1 เฟส
bulletSolid State Relay 3 เฟส
bulletPRESSURE TRANSMITTER
bulletTCL Series
bulletHygro-Thermometer
bulletTHERMOSTAT
bulletTACHOMETER /Digital Tacho Meter
bulletAll IES
bulletABB Inverter
bulletHITACHI INVERTER
bulletFUJI
bulletOMRON/ออมรอน
bulletMITSUBISHI INVERTER
bulletFluke Series
bulletTemperature Controller ,เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
bulletเครื่องควบคุมอุณหภูมิ,Ttmperature Control
bulletABB
bulletAsahi
bulletAutonics
bulletANV
bulletAECO
bulletAutonics
bulletASCO
bulletAmptech
bulletBrainchild
bulletBrannan
bulletCamyork
bulletcelduc
bulletCOPAL
bulletCIRCUTOR
bulletCrouzet
bulletCARLO GAVAZZI
bulletCalex
bulletCenter
bulletCikachi
bulletCosmotec
bulletDATASENSOR
bulletDaiichi
bulletDixell
bulletDIGICON
bulletDwyer
bulletDefelsko
bulletDenki
bulletEddox
bulletECOFIT
bulletEROELECTRONIC
bulletebmpapst
bulletEfector ifm
bulletExergen
bulletEliwell
bulletelco
bulletFenwal
bulletFluke
bulletFourier Systems
bulletGWInstek
bulletGGM
bulletGefran
bulletHUBA CONTROL
bulletHIOKI
bulletpressure switch
bulletHITROL
bulletHENGSTLER
bulletHoneywell
bulletHanyoung
bulletIBEST
bulletiButton
bulletIsolite
bulletJ&D
bulletKubler
bulletKoyo
bulletKett
bulletKaowool
bulletKyodo
bulletKyoritsu
bulletKyotto
bulletLine Seiki
bulletLeica Disto
bulletLinking
bulletLegrand
bulletLeuze electronic
bulletMaester
bulletMERZ
bulletM-SYSTEM
bulletMEANWELL
bulletNohken
bulletOhkura
bulletOptex
bulletOmega
bulletPilz
bulletTemperature Controller PID,เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
bulletTemperature Controller Fuzzy,เครื่องควบคุมอุณหภูมิ,ฟัซซี่
bulletTemperature Controller On-Off,เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
bulletAnalog Temperature Controller,เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
bulletTrafag
bulletPositek
bulletPROVA
bulletProtimeter
bulletProdigy
bulletPR Electronics
bulletParker
bulletPEPPERL+FUCHS
bulletMicrostrain
bulletnivelco
bulletND Northern Design
bulletNemicon
bulletQNix
bulletnovus
bulletRichtmass
bulletRense
bulletRainbow
bulletSika
bulletSigma
bulletSiemens
bulletSick
bulletShinko
bulletShimax
bulletSangi
bulletSunx
bulletStulz
bulletToho
bulletTheben
bulletTES
bulletTAIE
bulletTurck
bulletTranstronic
bulletTouchWin
bulletTrafag
bulletUltraswitch
bulletUnion
bulletUnitronics
bulletVolcan
bulletWenglor
bulletWestec
bulletJOVEN
bulletKori
bulletCooling Fan
bulletEncoder
bulletเทอร์โมคัปเปิล
bulletSwitching Power Supply
bulletสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
bulletAmptech KT011
bulletCONCH
bulletTOSHIKO
bulletAESIR
bulletIES SYSTEM
bulletTW-50
bulletVR18
bulletVR18 Paperless Recorder
bulletTHERMOCOUPLE HEAD
bulletTHERMOMETER,เทอร์โมมิเตอร์
bulletLINKING TECH
bulletMOTOR GEAR
bulletINOR Thermocouple Transmitter / RTD Transmitter
bulletTRAFAG , ECT ,ECOS
bulletRM1006C
bulletTAIE เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
bulletOPVC-JZ CABLE CONTROL
bulletOPVC-JZ-CY
bulletLiYCY
bulletฉนวนไฟฟ้า
bulletฉนวนความร้อน
bulletลวดความร้อน
bulletสายไฟทนความร้อนสูง
bulletMica Products
bulletHeat Insulated Wire
bulletBimetal Materials
bulletHeating Wire
bulletCeramic
bulletHeating Cable
bulletTherminal Block
bulletInsulators
bulletปลอกสายทนความร้อน
bulletRIXEN
bulletHANYOUNG NUX
bulletซ่อม เครื่องบันทึกอุณหภูมิ ยีห้อ Ohkura,Toho,Sigma,Shinko และ Brainchild
bulletHumidity-Temperature Transmitter
bulletProduct List


Temperature Controller


เทอร์โมคัปเปิล Thermocouple / RTD PT 100 อาร์ทีดี
เทอร์โมคัปเปิล (THERMOCOUPLE) หรือ TC และอาร์ทีดี Pt100 เซนเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ 
 
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)
 
                   เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ หรือตัวตรวจวัดอุณหภูมิ ซึ่งจะใช้หลักการของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือความร้อนให้กลายเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า electromotive force หรือใช้ตัวย่อว่า(emf)
                เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)จะประกอบด้วย ลวดโลหะตัวนำ 2 ชนิดที่แตกต่างกัน นำมาเชื่อมปลายทั้ง 2 เข้าด้วยกัน โดยเรียกปลายนี้ว่า จุดวัดอุณหภูมิ หรือ  Measuring point ซึ่ง ณ จุดนี้จะเป็นจุดที่ใช้วัดอุณหภูมิที่เราต้องการจะรู้ว่ามีอุณหภูมิเท่าไหร่ และจะมีปลายอีกข้างหนึ่งของลวดโลหะปล่อยว่าง  ซึ่งเรียกว่า จุดอ้างอิง หรือ  Cold junction ซึ่งหากจุดวัดอุณหภูมิ และจุดอ้างอิง มีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรเกิดขึ้นได้
 
เทอร์โมคัปเปิล thermocouple 

 

 

ชนิดและวัสดุที่ใช้ทำ เทอร์โมคัปเปิล (THERMOCOUPLE)

  •     ชนิดของเทอร์โมคัปเปิล : B, R, S, K,E, J, T, N
  •     ปลอกป้องกัน เทอร์โมคัปเปิล : SUS304 , SUS316L, 310S, INCONEL600, SUS253MA, 446, ท่อเซรามิก Silicon Nitride และ Silicon Carbide
  •     ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ : 1mm., 1.6mm., 2mm., 3.2mm., 4mm., 4.5mm., 4.8mm., 5mm., 6mm., 6.4mm., 8mm., 10mm.,

                 12mm., 15mm., 15.8mm., 17mm., 21.3mm.

  •     ท่อ : SUS304, 316L, 310S, 253MA, INCONEL600, CAST IRON, HASTELLOY C22, MONEL 400

                  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ : 3mm. – 25mm.

 

!!สามารถสั่งผลิต Thermocouple และ RTD ได้ง่ายๆดังนี้ค่ะ!!

1. Add line: ies.88 หรือ  email:  ies-thailand@hotmail.com

2. ส่งแบบ รูปภาพ หรือไฟล์ภาพงานจริง ที่ต้องการผลิตมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินราคา และเสนอราคาให้ค่ะ

3. บอกความยาว ขนาดท่อ ชนิดของท่ ของแต่ละส่วน ขนาดเกลียว(ถ้ามี) ชนิดของเซ็นเซอร์ที่จะสั่งผลิตค่ะ

4. หากต้องการปรึกษาสามารถโทรสอบถามที่   คุณการันต์ 086-3693970    Id Line : 086-3693970
                                                                      คุณอ้อม    098-2839400    Id Line : ies.88

 

รูปแบบของ เทอร์โมคัปเปิล และ อาร์ทีดี Pt100

 

โทรสอบถามฝ่ายขาย 02-1011230-2  

TH-01

TH-02

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้ (ELEMENT) : Type K (CA), J (IC),PT100
ขนาดของไส้                      : Ø 0.65 มม.
ขนาดของสกรู                    : 1/4" , 5/16"
ความยาวสาย                    : 1, 2, 3, 4, 5 ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด         : 400 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ขันยึดติดกับพื้นผิวที่ต๊าฟเกลียวไว้
                                   แล้วให้เหมาะสมกับการวัด
                                   อุณหภูมิของเหลวเพราะรั่วซึมได้

เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้ (ELEMENT) : Type K (CA), J (IC)
ขนาดของไส้                      : Ø 0.65 มม.
ขนาดของสกรู                    : 1/4" , 5/16"
ความยาวสาย                    : 1, 2, 3, 4, 5 ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด         : 400 °C
ลักษณะการใช้งาน            :ขันสกรูลงในรูหางปลา
                                           ยึดติดกับพื้นผิว

TH-03

TH-04

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :  Type K (CA), J (IC), T, E, Pt100W
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 5, 6.35,9.6 มม.
ความยาวปลอก         : 100, 200, 300, 400, 500, 600 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด : Type K, J : 600 °C, Pt100 : 600 °C
ลักษณะการใช้งาน     : สำหรับวัดอุณหภูมิอากาศและ
                                    ของเหลวมีทั้งปลอกเป็น ก้านตรง (1A) และ ก้านงอ         90°

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :Type K (CA), J (IC), T, E, Pt100W           ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 5, 6.35,9.6 มม.
ความยาวปลอก         : 100, 200, 300, 400, 500, 600 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5 ม.
ขนาดเกลียว              : 1/4", 1/2", 3/4"
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด : Type K, J : 600 °C, Pt100 : 600 °
ลักษณะการใช้งาน     : สำหรับวัดอุณหภูมิอากาศและ
                                    ของเหลวมีทั้งปลอกเป็นก้านตรง และก้านงอ 90°

TH-05

TH-06

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้                  : Type K (CA), J (IC), T, E, Pt100W
ขนาดของไส้                : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก           : Ø 5, 6.35,9.6 มม.
ความยาวปลอก            : 100, 200, 300, 400, 500, 600 มม.
ความยาวสาย               : 1, 2, 3, 4, 5 ,.........ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด    : Type K, J : 600 °C, Pt100 : 600 °C
ลักษณะการใช้งาน       : ล็อกยึดติดกับชิ้นงานด้วยเขี้ยวล็อก
                                     และสปริงมีทั้งก้านตรง (4A)และก้านงอ90° (5A)

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้ (ELEMENT): Type K (CA), J (IC), T, E, Pt100W
ขนาดของไส้ : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก: Ø 5, 6.35 มม.
ความยาวปลอก :25 มม.
ความยาวสาย : 1, 2, 3, 4, 5 ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด: Type K, J :400°C
ลักษณะการใช้งาน: ล็อกยึดติดกับชิ้นงานด้วยเขี้ยวล็อก
 

TH-07

TH-08

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :  Type K (CA), J (IC), T, E, Pt100W
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 5, 6.35,9.5 มม.
ความยาวปลอก         : 100, 200, 300, 400, 500, 600 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด : Type K, J : 600 °C, Pt100 : 600 °C
ลักษณะการใช้งาน     : สำหรับวัดอุณหภูมิอากาศและ
                                    ของเหลว
 

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :  Type K (CA), J (IC), T, E, Pt100W
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 5,  มม.
ความยาวปลอก         : 25 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด : Type K, J : 600 °C, Pt100 : 600 °C
ลักษณะการใช้งาน     : สำหรับวัดอุณหภูมิอากาศและ
                                    ของเหลว
 

TH-09

TH-10

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :  Type K (CA), J,R,S,B, Pt100W
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ชนิดของปลอก          :Ceramic, Alumina  ( ALsint 99.7 )
ขนาดของปลอก        : Ø 10,15,  มม.
ความยาวปลอก         :  200, 300, 400, 500,600 - 1000 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด : TCeramic = 1400 °C,
                                      Alumina = 1700 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ใช้วัดอุณหภูมิความร้อนสูงในเตาอบ,
                                    เตาเผา,เตาหลอม
 

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :  Type K (CA),T, J,R,S,B, Pt100
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ชนิดของปลอก          :Ceramic, Alumina  ( ALsint 99.7 )
ขนาดของปลอก        : Ø 6.35,9.5,10,15, 22 มม.
ความยาวปลอก         :  200, 300, 400, 500,600 - 1000 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
ขนาดเกลียว             : 1/4", 1/2", 3/4"
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด :  Ø 6 มม. = 600 °C/ 9.5, 12.7 มม.
                                      800 °C , Ø 22 มม. = 1000 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ใช้วัดอุณหภูมิความร้อนสูงในเตาอบ,
  เตาเผา,เตาหลอม
 

TH11

TH12

Thermocouple&RTD type J,K,R,S,T,E,RTD

ชนิดของไส้               :  Type K (CA),R,S,B, Pt100
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 6.35,9.5,10,15, 22 มม.
ความยาวปลอก         :  200, 300, 400, 500,600 - 1000 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
ขนาดเกลียว             : 1/4", 1/2", 3/4"
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด :  Ø 6 มม. = 600 °C/ 9.5, 12.7 มม.
                                      800 °C , Ø 22 มม. = 1000 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ใช้วัดอุณหภูมิความร้อนสูงในเตาอบ,
  เตาเผา,เตาหลอม
 

Thermocouple&RTD type J,K,R,S,T,E,RTD

ชนิดของไส้               :  Type K (CA),R,S,B, Pt100
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 6.35,9.5,10,15, 22 มม.
ความยาวปลอก         :  200, 300, 400, 500,600 - 1000 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
ขนาดเกลียว             : 1/4", 1/2", 3/4"
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด :  Ø 6 มม. = 600 °C/ 9.5, 12.7 มม.
                                      800 °C , Ø 22 มม. = 1000 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ใช้วัดอุณหภูมิความร้อนสูงในเตาอบ,
  เตาเผา,เตาหลอม
 

TH13

TH14

Thermocouple&RTD type J,K,R,S,T,E,RTD

ชนิดของไส้               :  Type K (CA),T,E,R,S,B, Pt100
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 6.35,9.5,10,15, 22 มม.
ความยาวปลอก         :  200, 300, 400, 500,600, 1000 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
ขนาดเกลียว             : 1/4", 1/2", 3/4"
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด :  Ø 6 มม. = 600 °C/ 9.5, 12.7 มม.
                                      800 °C , Ø 22 มม. = 1000 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ใช้วัดอุณหภูมิความร้อนสูงในเตาอบ,
  เตาเผา,เตาหลอม
 

THERMOCOUPLE,เทอร์โมคัปเปิล

ชนิดของไส้               :  Type K (CA),T,E,R,S,B, Pt100
ขนาดของไส้             : Ø 0.65 มม.
ขนาดของปลอก        : Ø 6.35,9.5,10,15, 22 มม.
ความยาวปลอก         :  200, 300, 400, 500,600, 1000 มม.
ความยาวสาย            : 1, 2, 3, 4, 5,10,...... ม.
ขนาดเกลียว             : 1/4", 1/2", 3/4"
อุณหภูมิใช้งานสูงสุด :  Ø 6 มม. = 600 °C/ 9.5, 12.7 มม.
                                      800 °C , Ø 22 มม. = 1000 °C
ลักษณะการใช้งาน     : ใช้วัดอุณหภูมิความร้อนสูงในเตาอบ,
  เตาเผา,เตาหลอม
 

 

 

 

 รับสั่งทำตามแบบได้ทุกขนาด   โทรสอบถามฝ่ายขาย 02-1011230-2   

   ID Line:  ies.88         ID Line  086-3693970  

เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) แบบมาตรฐาน

                เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) มีหลาย Type ให้เลือก แล้วแต่ย่านอุณหภูมิและลักษณะการใช้งาน โดยความแตกต่างของแต่ละ Type นี้ เกิดจากการเลือกใช้คู่ของวัสดุ (Element) ของโลหะ ที่นำโลหะชนิดต่าง ๆ กันมาจับคู่เชื่อมเข้าด้วยกัน จะทำให้คุณสมบัติของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่ได้แตกต่างกัน ไป นอกจากนี้ ได้มีการทดลองผสมโลหะต่างชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะเดิมให้ดีขึ้น หรือเพื่อใช้แทนโลหะบางชนิดที่ใช้ทำอยู่เดิม เช่น แพลตินัม เนื่องจากมีราคาสูง ตัวอย่างโลหะผสมที่เกิดขึ้น เช่น โครเมล (Cromel) คือ โลหะผสมของ นิกเกิ้ล 90% และ โครเมี่ยม 10% , อลูเมล (Alumel) คือ โลหะผสมของ นิกเกิ้ล 95% อลูมิเนียม 2% แมงกานิส 2% และ ซิลิคอน 1%, คอนสแตนแตน (Constantan) คือ โลหะผสมของ ทองแดง 60% และ นิกเกิ้ล 40% เป็นต้น

การ ใช้งานเทอร์โมคัปเปิ้ล ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีหลายข้อ เช่น ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน, ราคา , ความกัดกร่อนของสารที่เทอร์โมคัปเปิ้ลสัมผัส, ต้องใช้ Thermowell หรือไม่ , ลักษณะบรรยากาศที่เป็น Oxidizing, Reducing, Inert หรือ Vacuum เป็นต้น

ตารางแสดงคุณสมบัติเปรียบเทียบเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) แบบมาตรฐาน Type ต่าง ๆ

Type ส่วนผสม ย่านอุณหภูมิใช้งาน แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้
 
mV
C F
B

R

S

J
K
T
E
แพลทินัม - 30% โรเดียม
แพลทินัม - 6
% โรเดียม
แพลทินัม - 13
% โรเดียม
แพลทินัม
แพลทินัม-10
% โรเดียม
แพลทินัม
เหล็ก/คอนสแตนแตน
โครเมล/อะลูเมล
ทองแดง/คอนสแตนแตน
โครเมล/คอนสแตนแตน
 


0 ถึง 1820

-50 ถึง 1768

-50 ถึง 1768
-210 ถึง 760
-270 ถึง 1372
-270 ถึง 400
-270 ถึง 1000


32 ถึง 3310

-60 ถึง 3210

-60 ถึง 3210
-350 ถึง 1400
-450 ถึง 2500
- 450 ถึง 750
- 450 ถึง 1830


0 ถึง 13.814

-02.26 ถึง 21.108

-0.236 ถึง 18.698
-8.096 ถึง 42.922
-6.458 ถึง 54.875
-6.258 ถึง 20.865
-9.835 ถึง 76.358

- แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้จากการเปรียบเทียบอุณหภูมิที่วัดกับจุดเยือกแข็งของน้ำ

ตารางแสดงสภาวะแวดล้อมในการใช้งานเทอร์โมคัปเปิ้ลแบบมาตรฐานโดยไม่ต้องใช้ Protecting Tube

ความเหมาะสมในการใช้งาน

TC
Type
บรรยากาศ
Oxidizing
บรรยากาศ
Reducing
บรรยากาศ
Inert
Vacuum บรรยากาศ
Sulferous
อุณหภูมิ
< 0-
C
มีไอของโลหะ
B ได้ ไม่ได้ ได้ ได้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
R ได้ ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
S ได้ ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
J ได้ ได้ ได้ ได้ ไม่ได้ถ้า > 500 C ไม่ได้ ได้
K ได้* ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ได้ ได้
T# ได้ ได้ ได้ ได้ ไม่ได้ ได้ ได้
E ได้ ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ได้ ได้

* ใช้งานได้ดีกว่าแบบ E,J และ T เมื่ออุณหภูมิ > 550 Cโดยเฉพาะกับอุณหภูมิ < 0 C
Oxidizing :
กระบวนการทางเคมีที่ดึงออกซิเจนจากภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารนั้น
Reducing :
กระบวนการทางเคมีที่ออกซิเจนถูกดึงออกจากสารนั้นเพื่อไปทำปฏิกิริยากับสารภายนอก
Vacuum :
ค่าความดันที่ต่ำกว่าบรรยากาศจนถึงสภาวะสูญญากาศ
Inert      :
สภาวะเฉื่อยที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี

 

 

 

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)

เทอร์โมคัปเปิล คืออุปกรณ์วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เทอร์โมคัปเปิลทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว (แตกต่างกันทางโครงสร้างของอะตอม) นำมาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันที่ปลายด้านหนึ่ง เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิง หากจุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้ค้นพบโดย Thomus Seebeck นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันในปี ค..1821 ในรูปที่2 เป็นวงจรที่ใช้อธิบายผลของซีแบ็คดังกล่าว

 

 

 

 

THERMOCOUPLE เทอร์โมคัปเปิล อาร์ทีดี RTD

 

รูปที่2 แสดงผลของซีแบ็ค

 

 

 

 

ผลของแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากความร้อน (Termoelectric Effect)

 

            ทฤษฎีพื้นฐานของผลจากเทอร์โมอิเล็กทริก เกิดจากการส่งผ่านทางไฟฟ้าและทางความร้อนของโลหะที่ต่างกันจึงทำให้เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้าตกคร่อมที่โลหะนั้น ความต่างศักย์นี้จะสัมพันธ์กับความจริงที่ว่า อิเล็กตรอนในปลายด้านร้อนของโลหะจะมีพลังงานความร้อนมากกว่าปลายทางด้านเย็น จึงทำให้อิเล็กตรอนมีความเร็วไปหาปลายด้านเย็น ที่อุณหภูมิเดียวกันนี้การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะแปลเปลี่ยนไปตามโลหะที่ต่างชนิดกันด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า โลหะที่ต่างกันจะมีการนำความร้อนที่ต่างกันนั่นเอง

 

            1.ผลของซีแบ็ค (Seebeck Effect) โดยใช้ทฤษฎีโซลิดสเตด เราสามารถวิเคราะห์ค่าได้จากสมการอินทิเกรตค่าจากย่านของอุณหภูมิดังกล่าวนั่นคือ

                               

 

 

 

            สมการนี้จะอธิบายผลของซีแบ็ค ซึ่งพบว่า

 

 

 

 

1.ค่า emf. ที่เกิดจะเป็นสัดส่วนกับความแตกต่างของอุณหภูมิ จึงเกิดความแตกต่างของ      ค่าคงที่ในการส่งผ่านความร้อนของโลหะ

 

 

 

 

            2. ถ้าใช้โลหะชนิดเดียวกันมาทำเทอร์โมคัปเปิลค่าemf. ที่ได้ก็จะมีค่าเป็นศูนย์

 

 

 

 

            3. ถ้าอุณหภูมิทั้งสองจุดคือจุดวัดและจุดอ้างอิงเหมือนกันค่า emf. ก็จะเป็นศูนย์

 

 

 

 

            โดยสูตรที่ง่ายและสามารถนำมาคำนวณได้เช่นกันคือ

 

 

 

 

                                    

 

 

 

 

 

            เมื่อ   = ค่าคงที่หรือเรียกว่าสัมประสิทธิ์ของซีแบ็ค ; volts/K

 

 

 

   T1, T2 = อุณหภูมิที่จุดต่อ ; K

 

 

 

 

 

          2.ผลของเพลเทียร์ (Peltier Effects) หากคิดย้อนกลับจากผลของซีแบ็ค นั่นคือใช้โลหะที่แตกต่างกันสองชนิดมาเชื่อมต่อทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วจ่ายพลังงานจากภายนอกเข้าไป ก็จะเป็นเหตุให้เกิดกระแสไหลในวงจร เพราะจากคุณสมบัติในการส่งไฟฟ้าและความร้อนของโลหะ พบว่าขั้วหนึ่งจะเกิดความร้อน (T2)และอีกขั้วหนึ่งจะเกิดความเย็น (T1) ขึ้น โดยผลดังกล่าวเรียกว่า ผลของเพลเทียร์” (Peltier effect) และถูกนำไปใช้งานพิเศษสำหรับการทำความเย็นกับส่วนของระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้กระทั่งเครื่องทำความเย็นขนาดเล็ก

 

 

 

 

 

เทอร์โมคัปเปิล THERMOCOUPLE

รูปที่ 3 แสดงผลของเพลเทียร์

 

 

 

ตารางแสดงแรงเคลื่อนของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple Table)

 

 

            ตารางเทอร์โมคัปเปิลจะให้แรงเคลื่อนสำหรับเทอร์โมคัปเปิลแต่ละชนิด เมื่ออ้างอิงกับจุดอ้างอิงที่กำหนด (00c) ณ อุณหภูมิที่จุดวัดต่างๆ พบว่าที่อุณหภูมิ 2100c เทอร์โมคัปเปิลชนิด j เมื่ออ้างอิงที่ 00c จะมีแรงเคลื่อนเป็น

 

 

                                 V(2100c)  = 11.3 mV(ชนิด J, 00c ref.)

 

 

            ในทางกลับกัน ถ้าเราวัดแรงเคลื่อนได้ 4.768 mV กับชนิด s และอุณหภูมิอ้างอิงที่ 00cเราพบว่า

 

 

                             T(4.768 mv) = 5550c (ชนิด s, 00c ref.)

 

            แต่บางกรณี แรงเคลื่อนที่วัดได้จะไม่ตรงกับค่าในตาราง จึงจำเป็นต้องมีการแบ่งสเกล(interpole) ระหว่างค่าในตาราง ซึ่งหาได้จากสมการการแบ่งสเกลดังนี้

                               


 

 

 

 

 

 

 

            เมื่อ                     VM =  คือแรงเคลื่อนที่วัดได้จากมิเตอร์

 

 

             VH และ   VL =  ค่าแรงเคลื่อนของ  TH และ TL  อ่านได้จากตารางโดย VH  อยู่สูง   

 

 

                                    กว่า  VM และ VL ต่ำกว่า VM

 

 

                        TH  และ TL  =  ค่าอุณหภูมิที่ตรงกับค่าแรงเคลื่อน VH  และ VL  ตามลำดับ

 

 

 

การเปลี่ยนจุดอ้างอิงของตาราง ( Change of Table Reference)

 

หากอุณหภูมิอ้างอิงแตกต่างจากตารางเทอร์โมคัปเปิลที่กำหนดไว้ เราก็ยังสามารุถใช้ค่าจากตารางนี้เป็นฐานในการคำนวณได้ ข้อควรจำคือเมื่อวัดอุณหภูมิเดียวกันแต่เปลี่ยนไปใช้จุดอ้างอิงที่สูงกว่าจะทำให้แรงเคลื่อนทางเอ้าท์พุตถูกกดให้ต่ำลง ดังรูปที่ 4

 

เช่นนำเทอร์โมคัปเปิลชนิด J ซึ่งมีจุดอ้างอิงที่ 30 0c ไปวัดที่ 4000c วิธีการหาแรงเคลื่อนใหม่ที่ได้คือ ขั้นแรกหาแรงเคลื่อน ณ อุณหภูมิที่ต้องการอ้างอิงใหม่จากตาราง ใหนที่นี้คือ 300ณ จุดอ้างอิง 00c จากภาพผนวก ข. พบว่ามีแรงเคลื่อน 1.54 mV (เรียกค่าที่หาได้นี้ว่าตัวประกอบ) หลังจากนั้นก็นำค่านี้ไปลบออกจากแรงเคลื่อนที่จุดวัดที่ 400 0c เมื่อจุดอ้างอิงเป็น 00c หรือเขียนเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

 

                thermocouple เทอร์โมคัปเปิล

 

รูปที่ 4 แสดงการเปลี่ยนจุดอ้างอิงจาก 0 ถึง 200C ซึ่งจะสมดุลกับ

การเลื่อนลงของเส้นโค้งแรงเคลื่อนเทอร์โมคัปเปิล

 

 

V(300c)  = 1.54 mV (ชนิด J , 00c ref.) ขั้นแรก

 

 

และ      V(4000c) = 21.85 mV (ชนิด J ,00c ref.)ขั้นที่สอง

 

 

นำค่า (ตัวประกอบ) ที่ได้จากขั้นที่สองมาลบออกจากขั้นแรก ทำให้ได้แรงเคลื่อนซึ่งขึ้นอยู่กับความแตกต่างนี้เป็น

 

 

            V(4000c) = 20.31 mV (ชนิด J ,300c ref.)

 

 

เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนของจุดอ้างอิงจะเขียนในแบบใหม่ เช่น Vj0 จะหมายถึงแรงเคลื่อนของเทอร์โมคัปเปิลชนิด J อ้างอิงที่ 0 0c และ Vj30 หมายถึงของชนิด J อ้างอิงที่ 300c

 

 

 

คุณสมบัติของเทอร์โมคัปเปิลแบบมาตรฐาน(Characteristic of Standard Thermocouples)

 

            1.ความไว (Sensitivity) จากตารางแรงเคลื่อนของ NBS แสดงว่าย่านของแรงเคลื่อนจากเทอร์โมคัปเปิลจะมีค่าน้อยกว่า 100 mV แต่ความไวที่แท้จริงในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับการใช้วงจรปรับสภาพสัญญาณและตัวเทอร์โมคัปเปิลเอง

 

 

เทอร์โมคัปเปิล THERMOCOUPLE 

รูปที่5 แสดงโครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิล

 

          

  2.โครงสร้าง (Construction) โครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิลมีลักษณดังรูปที่5 โดยต้องมีลักษณะดังนี้คือ: มีความต้านทานต่ำ ให้สัมประสิทธิ์อุณหภูมิสูง ต้านทานต่อการเกิดออกไซด์ที่อุณหภูมิสูงๆ ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่นำไปใช้วัดค่า และเป็นเชิงเส้นสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวฝักหรือท่อป้องกันส่วนมากจะทำจากแสตนเลส ความไวของเทอร์โมคัปเปิลขึ้นอยู่กับความหนาของท่อป้องกันทั้งเยอรมันเนียมและซิลิคอนจะทำให้คุณสมบัติการเกิดเทอโมอิเล็กทริกจึงใช้กันมากในอุปกรณ์ทำความเย็น (peltier element) มากกว่าที่จะใช้เป็นเทอร์โมคัปเปิลวัดอุณหภูมิ

 

            ขนาดของสายเทอร์โมคัปเปิลกำหนดได้จากการใช้งานแต่ละอย่าง และมีขนาดจาก #10 ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่คงที่ จนถึงขนาด # 30 หรือแม้กระทั่ง 0.02 mm

ซึ่งเป็นสายแบบไมโครไวร์(microwire) ที่ใช้กับการวัดอุณหภูมิการกลั่นในงานทางชีววิทยา

 

 

 

            3.ย่านการใช้งาน (Range) ย่านอุณหภูมิการใช้งานและความไวในการวัดของเทอร์โมคัปเปิล แต่ละตัว จะแตกต่างกันตามแต่ละสมาคมจะกำหนด ในส่วนที่สำคัญคือค่าแรงเคลื่อนที่ออกมาจากแต่ละอุณหภูมิ จะต้องอ้างอิงกับตารางค่ามาตรฐานของแต่ละสมาคมที่ใช้ให้ถูกต้องเป็นเอกภาพเดียวกันหมดทั้งระบบ

 

 

            4. เวลาตอบสนอง (Time Response) เวลาตอบสนองของเทอร์โมคัปเปิลขึ้นอยู่กับขนาดของสายและวัสดุที่นำมาทำท่อป้องกันตัวเทอร์โมคัปเปิล

 

 

            5.การปรับสภาพสัญญาณ (Signal Conditioning) ปกติแรงเคลื่อนของเทอร์โมคัปเปิลจะมีขนาดน้อยมากจึงจำเป็นต้องมีการขยายสัญญาณโดยใช้ออปแอมป์ขยายความแตกต่างที่มีอัตราขยายสูงๆ

 

 

 

 

 

การใช้งานเทอร์โมคัปเปิลมาตรฐาน (Characteristic in Application of Thermocouple Standard Type)

 

 

            ในปัจจุบัน พบว่ามีเทอร์โมคัปเปิลมาตรฐานอยู่ 7 ชนิดตามมาตรฐานของ ANSI และ ASTM โดยการจำแนกตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำได้แก่

 

 

            1.เทอร์โมคัปเปิลแบบ S ประดิษฐ์โดยนาย Le Chatelier ในปี 1886

 

ข้อดีของแบบ S

 

·       เหมาะกับการใช้งานในสภาวะที่เกิดปฏิกิริยาเคมีแบบออกซิไดซิง(oxidizing)

 

 

·       เหมาะกับการใช้งานในสภาวะงานเฉื่อย (inert) คืองานที่ไม่เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาใดๆ ได้ง่าย ๆ

 

 

·       นิยมใช้กับงานวัดตัวแปรที่มีอุณหภูมิสูง เช่น เตาหลอมเหล็ก

 

 

·       วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วง 0 ถึง 15500c และอุณหภูมิช่วงสั้นได้จากช่วงประมาณ –50ถึงประมาณ 17000c

 

 

·       หากอยู่ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมจะให้ความเที่ยงตรงสูงที่สุด

 

 

·       ใช้ในการสอบเทียบ ตั้งแต่จุดแข็งตัวของแอนติโมนี (630.740c) จนถึงจุดแข็งตัวของทองแดง (1064.430c) ตามมาตรฐาน IPTS 68

 

ข้อเสียของแบบ s

 

·       ต้องใช้ท่อป้องกันในทุกสภาวะบรรยากาศ

 

 

·       ไม่เหมาะกับงานที่มีปฏิกิริยาแบบรีดิวซิง (reduzing)

 

 

·       ไม่เหมาะกับงานที่เป็นสูญญากาศ(vacuum)

 

 

·       ไม่เหมาะกับงานที่มีไอโลหะ เช่น สังกะสี ตะกั่ว

 

 

·       ไม่เหมาะกับงานที่มีไอของอโลหะ เช่น จำพวก อาเซนิก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส เพราะจะมีอายุการใช้งานสั้นลง

 

 

2.เทอร์โมคัปเปิลแบบ R เป็นแบบที่เหมาะกับการวัดอุณหภูมิสูง ๆ

 

ข้อดีของแบบ R

 

·       ให้แรงเคลื่อนทางด้านเอาท์พุตสูงกว่าแบบ S

 

 

·       วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วง 0 ถึง 16000c

 

 

·       วัดอุณหภูมิช่วงสั้นได้จากช่วง-50 ถึงประมาณ 17000c

 

 

·       เหมาะกับการวัดอุณหภูมิสูงๆ เช่น ในเตาหลอมเหล็ก อุตสาหกรรมแก้ว

 

 

·       ทนทานต่อการกัดกร่อน และให้เสถียรภาพของอุณหภูมิที่ดี

 

 

             ส่วนลักษณะข้อเสียเช่นเดียวกับแบบ S แต่ส่วนที่เพิ่มเติมคือ ให้ความเป็นเชิงเส้นต่ำเพิ่ม              

 

 

             อุณหภูมิต่ำกว่า 5400c

 

3.เทอร์โมคัปเปิลแบบ B ผลิตครั้งแรกเมื่อปี 1954 ในประเทศเยอรมัน

 

ข้อดีของแบบ B

 

 

·       วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วงประมาณ 100 ถึงประมาณ 16000c

 

 

·       วัดอุณหภูมิช่วงสั้นได้จากช่วงประมาณ 50 ถึงประมาณ 17500c

 

 

·       แข็งแรงกว่าแบบ S และแบบ R

 

 

·       เหมาะกับการใช้งานในสภาวะที่มีปฏิกิริยาแบบออกซิไดซิงและสภาวะเฉื่อย ให้ความเป็นเชิงเส้นของสัญญาณ (linearity) ดี

 

ข้อเสียของแบบ B

·       ให้แรงเคลื่อนของไฟฟ้าน้อยกว่าแบบอื่น ๆ เมื่อวัดอุณหภูมิที่เงื่อนไขเดียวกัน

·       ไม่เหมาะกับสภาวะที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาแบบรีดิวซิง

·       ไม่เหมาะกับสภาวะที่เป็นสุญญากาศ

·       ไม่เหมาะกับสภาพงานที่มีไอของโลหะและอโลหะเช่นเดียวกับแบบ Rและ S

·       ให้ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าสองค่า (double value region)จากอุณหภูมิในช่วง

 

       0-42 0c(ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง) ทำให้ไม่สามารถทาราบได้ว่าที่แรงเคลื่อนไฟฟ้านั้นมี

 

 

       อุณหภูมิเป็นเท่าใด เช่นที่อุณหภูมิ 00cจะแรงเลื่อนไฟฟ้าเท่ากับ 420c

 

 

·       ให้ความชัน(การเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนต่ออุณหภูมิ) ของสัญญาณต่ำกว่าแบบอื่น ๆ

 

 

 

4.เทอร์โมคัปเปิลแบบ J พบว่าหากใช้แพลทินัมมาทำเป็นเทอร์โมคัปเปิลความคุ้มทุนก็ลดลงไป ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้เทอร์โมคัปเปิลราคาถูกลง จึงใช้วัตถุธาตุอื่นที่มีราคาถูกกว่ามาทดแทนแพลทินัม โดยรหัสสีตามมาตรฐาน BS มีดังนี้ ถ้าขั้วบวก จะเป็นสีดำ ขั้วลบจะเป็นสีขาว ทั้งตัวจะเป็นสีดำ

 

            ความแน่นอนตามมาตรฐาน BS 1797 Part 30 , 1993ได้แก่

1. Class 1 = -400C ถึง  +7500C

   0.004 x t      หรือ  1.50C

 

2. Class 2 = -400C ถึง  + 7500C

  0.0075 x t   หรือ  2.50C

 

เมื่อ  t   คือ อุณหภูมิจริง

 

ข้อดีของแบบ J

 

 

·       ให้อัตราการเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ออุณหภูมิได้ดี

 

 

·       มีราคาถูกกว่าแบบที่ทำจากธาตุบริสุทธิ์

 

 

·       ตามมาตรฐาน BS 7937 Part 30 สามารถวัดอุณหภูมิได้ต่อเนื่องจากช่วงประมาณ –210 ถึง 12000c

 

 

·       เหมาะกับสภาพงานที่เป็นสุญญากาศงานที่ งานที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิง และงานที่อยู่ในสภาพเฉื่อย เมื่ออุณหภูมิไม่เกิน 7600c

 

 

·       นิยมใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก

 

 

·       เป็นแบบที่นิยมใช้ ราคาไม่แพง

 

 

ข้อเสียของแบบ J

 

 

·       วัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่าแบบ T

 

 

·       ไม่เหมาะสมมากนักกับงานที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 00c

 

 

·       หากวัดที่อุณหภูมิสูงกว่า 5380c จะเกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิงที่สายซึ่งทำจากเหล็กด้วยอัตราสูง

 

 

·       หากใช้งานนานเกินช่วง 20 ปี ส่วนผสมทางเคมี คือ แมงกานีสในเหล็กจะเพิ่มขึ้น 0.5% ทำให้คุณสมบัติของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

 

 

5.เทอร์โมคัปเปิลแบบ K ธาตุหนึ่งที่เป็นฐานสำหรับการสร้างคือ นิกเกิล เทอร์โมคัปเปิลชนิดนี้เริ่มผลิตให้เป็นมาตรฐานตั้งแต่ปี ค.. 1916 โดยพื้นฐานการผลิต ขั้วหนึ่งจะเป็นนิกเกิลที่เจือปนด้วยอะลูมิเนียมส่วนอีกด้านที่เจือปนด้วยโครเมียม เพราะว่าในปี ค.. 1916 ยังไม่สามารถสร้าง

 

 

นิเกิลลบบริสุทธิ์ได้จึงได้เติมสารไม่บริสุทธิ์ต่าง ๆ ในส่วนผสมของวัสดุชนิด K แต่ในปัจจุบันได้มีการระมัดระวังส่วนผสมที่จะทำให้เกิดความไม่บริสุทธิ์ดังกล่าวเพื่อเหตุผลในการบำรุงรักษาและสอบเทียบ

 

 

ด้วยเหตุนี้เทอร์มคัปเปิลชนิด K ที่กำหนดเป็นค่ามาตรฐานจะไม่ใช้โลหะผสมแต่โดยทั่วไปจะผสมธาตุพิเศษเข้าไปเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแรงเคลื่อน/อุณหภูมิของจุดหลอมละลายที่กำหนดไว้ข้อควรระวังในการใช้งานของชนิด K มีดังนี้

 

 

1.                        ขั้วลบของเทอร์โมคัปเปิลจะเป็นวัสดุเฟอร์โรแมกเนติก (เหล็กที่เป็นสารแม่เหล็ก) ที่อุณหภูมิห้อง แต่ที่จุดคิวรีของมัน ( curie point คืออุณหภูมิที่มันเปลี่ยนจากคุณสมบัติเหล็กไปเป็นแม่เหล็ก) อยู่ในช่วงที่ใช้งานพอดี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนทางเอาต์พุตอย่างทันทีทันใด ยิ่งไปกว่านั้นพบว่าจุดคิวรีดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของโลหะผสม จุคิวรีนี้จะเปลี่ยนคุณสมบัติจากเทอร์โมคัปเปิลตัวหนึ่งให้เป็นเทอร์โมคัปเปิลอีกตัวหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องทดลองหาการเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนที่ไม่ทราบค่า ณ อุณหภูมิที่เราไม่ทราบค่านี้

 

 

2.                        ที่อุณหภูมิสูง ๆ (ช่วง 2000c ถึง 6000c )เทอร์โมคัปเปิลชนิด K จะมีผลของฮีสเตอร์รีซีสเกิดขึ้นขณะที่มันอ่านค่าเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นและในช่วงที่อุณหภูมิลดลง ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่สามารถจะคาดเดาการเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนได้

 

 

3.                        ที่อุณหภูมิ 10000c ขั้วของเทอร์โมคัปเปิลชนิด K จะเกิดออกไซด์ เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อน

 

 

4.                        การใช้โคบอลต์เป็นโลหะผสมสำหรับเทอร์โมคัปเปิลชนิด K จะทำให้เกิดปัญหาในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ หรือในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีฟลักซ์นิวตรอนสูง ๆ ธาตุบางตัวจะรับเอาการปลดปล่อยนิวเคลียร์ จึงทำให้เปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนทางด้านเอาต์พุต

 

 

ย่านการทำงานและความแน่นอนของเทอร์โมคัปเปิลในงานอุตสาหกรรม ที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEC 584( รหัสสำหรับการวัดอุณหภูมิโดยใช้เทอร์โมคัปเปิล) ช่วงนการวัดอุณหภูมิต่อเนื่องของเทอร์โมคัปเปิลแบบนี้จะเป็น –2700c ถึง +1,3700c

 

 

โดยมีระดับความแน่นอนซึ่งกำหนดโดยมาตรฐาน IEC 584 (ตารางอ้างอิงสำหรับเทอร์โมคัปเปิลนานาชาติ เป็นดังนี้

 

1. Class 1 = -400C ถึง  +1,0000C

   0.004 x t      หรือ  1.50C

 

2. Class 2 = -400C ถึง  + 1,2000C

  0.0075 x t   หรือ  2.50C

 

3. Class 1 = -2000C ถึง  +400C

       0.015 x t     หรือ  2.50C

 

 

            เมื่อ t อุณหภูมิจริงที่ทำการวัด

 

 

รหัสสีสำหรับสายเทอร์โมคัปเปิลกำหนดโดยมาตรฐาน BS 4937 part 30 ,1993

 

 

(รหัสสีตามมาตรฐานอังกฤษสำหรับสายชดเชยแบบคู่ของเทอร์โมคัปเปิล) สำหรับชนิด K ขั้วบวกจะเป็นสีเขียว ขั้วลบจะเป็นสีขาว ถ้าตลอดทั้งตัวจะเป็นสีเขียว ส่วนสายชดเชยสัญญาณ (ชนิด vx) ก็เหมือนกับสีด้านบนที่กล่าวมา โดยสรุป

 

 

 

ข้อดีของแบบ K

 

·       เป็นแบบที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด

 

 

·       สำหรับการวัดอุณหภูมิช่วงสั้น ๆ จะวัดได้จาก –1800c ถึงประมาณ 1,3500c

 

 

·       สามารถใช้วัดในงานที่มีปฏิกิริยาออกซิไดซิง หรือสภาวะแบบเฉื่อย(inert) ได้ดีกว่าแบบอื่น ๆ

 

 

·       สามารถใช้กับสภาพงานที่มีการแผ่รังสีความร้อนได้ดี

 

 

·       ให้อัตราการเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ออุณหภูมิดีกว่าแบบอื่น ๆ (ความชันเกือบเป็น 1) และมีความเป็นเชิงเส้นมากที่สุดในบรรดาเทอร์โมคัปเปิลด้วยกัน

 

ข้อเสียของแบบ K

·       ไม่เหมาะกับการวัดที่ต้องสัมผัสกับปฏิกิริยารีดิวซิงและออกซิไดซิงโดยตรง

·       ไม่เหมาะกับงานที่มีไอของซัลเฟอร์

·       ไม่เหมาะกับสภาพงานที่เป็นสุญญากาศ (ยกเว้นจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ)

·       หลังการใช้งานไป 30 ปี ทำให้ส่วนผสมทางเคมีเปลี่ยนไป เป็นผลทำให้คุณสมบัติของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเปลี่ยนไป

 

 

6.เทอร์โมคัปเปิลแบบ T

ข้อดีของแบบ T

·       ดีกว่าแบบ K ตรงที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่า นั่นคือเหมาะกับการวัดอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ เช่นในห้องเย็น ตู้แช่แข็ง

·       ให้ความแน่นอนในการวัดดีกว่าแบบ K (ช่วงที่ต่ำกว่า 1000c ความแน่นอนจะเป็น 1%)

·       มีเสถียรภาพในการวัดอุณหภูมิดี

·       การวัดสภาพงานที่เป็นสุญญากาศงานที่มีปฏิกิริยาแบบออกซิไดซิงรีดิวซิงและงานที่มีปฏิกิริยาแบบเฉื่อยจะทำได้ดี

·       วัดอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องได้จากช่วง –185 ถึง 3000c และวัดอุณหภูมิแบบช่วงสั้นๆ ได้จากช่วง –250 ถึง 400 0c

·       ทนต่อบรรยากาศที่มีการกัดกร่อนได้ดี

 

  ข้อเสียของแบบ T

 

 

·       เป็นแบบที่วัดอุณหภูมิช่วงบวกได้น้อยกว่าแบบอี่นๆ

 

 

·       หากใช้วัดอุณหภูมิที่สูงกว่า 370 0cจะทำให้เกิดออกไซมาก

 

 

·       ไม่เหมาะกับการวัดอุณหภูมิที่สัมผัสกับการแผ่รังสีความร้อนโดยตรง(ทำให้ส่วนผสมของวัสดุที่ใช้ทำเปลี่ยนไป คุณสมบัติทางไฟฟ้าเปลี่ยนไปด้วย)

 

 

·       เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ในช่วง 20 ปี ส่วนผสมของนิเกิลและสังกะสี จะเพิ่มประมาณ 10%  ทำให้คุณสมบัติทางไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

 

 

·       คุณสมบัติของแรงเคลื่อนต่ออุณหภูมิไม่เป็นเชิงเส้น (แต่ก็ปรับปรุงได้จากวงจรปรับสภาพสัญญาณ)

 

7.เทอร์โมคัปเปิลชนิด E

ข้อดีของแบบ E

·       ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุดเมื่อวัดอุณหภมิเทียบกับแบบอื่น ๆ ในสภาวะเดียวกัน

·       วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วง 0 ถึง 8000c

·       คุณสมบัติอื่น ๆ คล้ายกับแบบ K

 

การแก้ไขให้ระบบวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิลให้ทำงานได้ดีขึ้น ต้องปฏิบัติดังนี้

 

 

1.ใช้สายเทอร์โมคัปเปิลขนาดใหญ่ที่สุดที่จะเป็นไปได้ เพราะมันจะไม่พ่วงเอาความร้อนออกจากพื้นที่การวัดเข้ามา

 

 

2. ถ้าต้องการใช้สายขนาดเล็ก ๆ ให้ใช้เฉพาะในขอบเขตที่ทำการวัด และใช้สายขยาย (extention wire) ในขอบเขตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกลางสาย

 

 

3. หลีกเลี่ยงความเค้นทางกลและการสั่นสะเทือนที่มีผลให้เกิดความเครียดในสาย

 

 

   4.เมื่อใช้สายเทอร์โมคัปเปิลยาว ๆ ให้ต่อชีลด์ที่สายไปยังขั้วต่อสายของดิจิตอลโวลต์

 

 

    มิเตอร์ และใช้สายขยายสัญญาณแบบบิดเกลียว

 

 

5.หลีกเลี่ยงบริเวณที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกลางสาย

 

 

6.พยายามเลือกสายเทอร์โมคัปเปิลในพิกัดอุณหภูมิของมัน

 

 

7. ป้องกันวงจรแปลง integrate A/D จากการรบกวน

 

 

8. ใช้สายขยายเฉพาะที่อุณหภมิต่ำ ๆ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกลางสายน้อย ๆ

 

 

9. ทดสอบและเก็บค่าความต้านทานของเทอร์โมคัปเปิลเก่า ๆ ไว้ พร้อมกับวัดค่าความต้านทานของเทอร์โมคัปเปิลเก็บไว้เป็นช่วง ๆ

 

 

THERMOCOUPLE THERMOCOUPLE เทอร์โมคัปเปิล 

 

 

 

 

 

                       

                        2,3,4,5,6,7,8,9







Copyright © 2010 All Rights Reserved.