เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temperature Controller
มีสินค้าหลากหลายยี่ห้อในการเลือกใช้ ลูกค้าคลิกที่ตัวยี่ห้อ (Brand )ได้เลยค่ะ
เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล : TAIE FY Series / TAIE FU Series / Sinny / OMRON / DIGICON / FENWAL / RKC / SHINKO / JUMO / ELIWELL / SHIMAX / TOHO / PANASONIC / HANYOUNG / MAXTHERMO / CAREL / ANV / DIXELL / FOTEK /
FOX /SIGMA / UNION / GEFRAN
เทอร์โมคัปเปิล PT100 และฮีตเตอร์ทุกชนิด
เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temperature Controller หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดค่าความร้อนและทำการควบคุมอุณหภูมิ
แบบอัตโนมัติโดยจะแสดงค่าอุณหภูมิผ่านหน้าจอของตัวควบคุมอุณหภูมิ มีทั้งแบบเป็นตัวเลข Digital และแบบอะนาล็อก Analob หรือ
แบบเข็มนาฬิกา ซึ่งจะมีระบบควบคุมอุณหภูมิอยู่ 2 แบบ คือ แบบอนาล็อก และแบบดิจิตอล แต่ละแบบจะมีลักษณะฟังก์ชั่นการทำงาน
ความละเอียดในการวัดอุณหภูมิ และขนาดตัวเครื่อง ขนาดความกว้าง ยาว สูง ที่แตกต่างกัน แต่การทำงานเหมือนกัน เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
ที่ดีต้องมีคุณสมบัติระบบระบายความร้อนที่ดี สะดวกต่อการติดตั้งและการซ่อมบำรุง เครื่องควบคุมอุณหภูมิสามารถนำมาใช้งานในโรงงาน
อุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น อุตสาหกรรมเครื่องเย็น อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก ห้องแล็ป เป็นต้น
เครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้แช่เย็น
เครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้ฟักไข่
เครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับโรงเรือนหรือฟาร์ม
ลักษณะของการควบคุมการทำงานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิโดยทั่วๆไปมี 3 ลักษณะ ดังนี้
1. แบบ On/Off
2. แบบ Proportional
3. แบบ PID
1. การควบคุมแบบ On-Off หรือ แบบ เปิด - ปิด
การควบคุมของลักษณะการทำงานแบบเปิด-ปิด หรือ On-Off นั้นเป็นการควบคุมการทำงานแบบง่ายๆ พื้นฐานของการควบคุมอุณหภูมิ ของทั้ง 3
แบบโดยการทำงานคือการควบคุมเอาต์พุตจากเครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temperature Control ซึ่งมีสภาวะ เปิด on หรือ ปิด off เท่านั้น สำหรับการ
ควบคุมความร้อน หรือความเย็น จะสามารถกำหนดค่าตามที่ต้องการควบคุม ต่ำสุดเป็น On และ สูงสุดเป็น Off หรือตั้งปิด on เมื่ออุณหภูมิมีค่า
มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ เอาต์พุทจะเปลี่ยนสถานะเป็นเปิด off และจะทำซ้ำอย่างนี้ไปตลอดการทำงานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ เรียกการทำงานนี้ว่า
สภาวะการวนลูปการทำงาน เช่น ต้องการควบคุมอุณหภูมิน้ำร้อนที่ 100 องศาเซลเซียส โดยการจ่ายไฟให้ฮีทเตอร์ทำความร้อน เมื่อน้ำอุณหภูมิถึง
100องศาเซลเซียส เครื่องควบคุมอุณหภูมิก็จะสั่งให้ฮีทเตอร์หยุดการทำงาน ตอนนี้เอาท์พุตจะอยู่ในสภาวะปิด หรือ ตัดการทำงาน
หรือ และจะอยู่สถานะ Off นั่นเอง และจะไปเรื่อยๆจนอุณหภูมิของน้ำะลดลงต่ำกว่า100 องศาเซลเซียส ฮีทเตอร์ก็จะกลับมาทำงานอีกครั้ง ตอนนี้ก็
เหมือนกับการอยู่ในสภาวะเป็น On หรือปิดวงจรโดยสั่งให้ฮีทเตอร์ทำงาน เพื่อทำการเพิ่มหรือปรับอุณหภูมิของน้ำให้เพิ่มไปที่ 100องศาเซลเซียส
และจะทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเกิดขึ้นอย่างซ้ำไปซ้ำมาบ่อยๆอาจทำให้หน้าคอนแทคเกิดความเสียหายได้ เพื่อ
ป้องกันความเสียหาย จึงมีการคิดทำการหน่วงเวลาระหว่างการเปิดหรือปิดหรือเรียกว่า Hysteresis การหน่วงเวลาจะป้องกันการเปลี่ยนแปลงของหน้า
คอนแทคที่ทำงานอย่างรวดเร็วได้ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยยืดอายุการทำงานของหน้าคอนแทคให้อยู่ได้ยาวนานขึ้น
response of the ON-OFF Control system
2. แบบ Proportional
การควบคุมอุณหภูมิแบบ P หรือ Proportional ถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนการควบคุมแบบ เปิด-ปิด หรือ ON-OFF โดยการควบคุม
แบบ P นี้ลดการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับฮีตเตอร์เมื่ออุณหภูมิเข้าใกล้จุดที่ต้องการใช้งาน Setpoint หรือ SV ซึ่งเหมือนเป็นการหน่วงเวลาทำให้
ฮีทเตอร์ทำงานช้าลงร้อนช้าทีละนิด เพื่อไม่ให้เกิดการ Over Temperature ของอุณหภูมิใช้งาน แต่จะเข้าใกล้อุณหภูมิใช้งานและรักษาอุณหภูมิให้
คงที่มากยิ่งกว่าระบบ เปิด-ปิด หรือ ON-OFF การควบคุมอุณหภูมิแบบ Proportionalหรือ Proportionalจะทำงานโดยการเปิดและปิด การทำงาน
สำหรับช่วงเวลาสั้นๆ เวลา "เปิด" และเวลา "ปิด"
PID Control หรือ Proportional Integral Derivative Control
ระบบการควบคุมแบบ PID เป็นระบบการควบคุมแบบป้อนกลับที่ใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งเป็นค่าที่นำไปใช้ใน
การคำนวณที่เป็นค่าของความผิดพลาดที่หามาจากความแตกต่างของตัวแปรในกระบวนการและค่าที่ต้องการ ในกรณีนี้ตัวควบคุมจะพยายามลดค่า
ผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการปรับค่าสัญญาณขาเข้าของกระบวนการ การควบคุมแบบ PID หรือ Proportional Integral Derivative Control
จะประกอบไปด้วยส่วนการควบคุมที่สำคัญด้วยกัน 3 ส่วนคือ
P (Proportional control)
การควบคุมตามสัดส่วนในทางวิศวกรรมและการควบคุมกระบวนการ คือระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้นประเภทหนึ่งซึ่งมีการใช้การแก้ไข
กับตัวแปรที่ถูกควบคุม และขนาดของการแก้ไขจะเป็นสัดส่วนกับความแตกต่างระหว่างค่าที่ต้องการ (เซ็ตพอยต์, SP) และ ค่าที่วัดได้
I (Integral control)
เป็นการลดค่าความผิดพลาดที่สถานะอยู่ตัวของระบบให้น้อยลงจนหมดไป มีผลให้ความเร็วในการตอบสนองของระบบลดลง ทำให้
เสถียรภาพของระบบลดลง
D (Derivative control)
ทำให้ระบบมีเสถียรภาพมากขึ้น เพิ่มค่าอัตราส่วนความหน่วงให้กับระบบ