การประยุกต์ใช้งานเครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temperature Controller
การนำเครื่องควบคุมอุณหภูมิไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ในที่นี่คือการเลือกใช้ฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ของเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ ไม่เป็นการยุ่งยากในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ง่าย หากเข้าใจและเลือก Temperature Controller ได้อย่างเหมาะสม
การเลือกใช้ตามความเหมาะสมของ Temperature Controller
ตัวควบคุมอุณหภูมิ(Temperature Controller) เราสามารถนำไปใช้ควบคุมการทำงานได้หลายอย่าง ซึ่งลักษณะงานแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เราลองมาดูลักษณะงานที่นำ Temperature Controller (เครื่องควบคุมอุณหภูมิ) ที่ใช้กันโดยทั่วไป
การใช้ควบคุมความร้อน Heat Control
การควบคุมความร้อน เป็นงานหลักๆเลยที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่นำ Temperature Controller ไปใช้งาน เพราะงานส่วนใหญ่ต้องการควบคุมความร้อนให้มีความร้อนที่เที่ยงตรง แน่นอน เลือกใช้งานที่ฟังก์ชั่นง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เน้นความแม่นยำ เที่ยงตรงเป็นหลัก
ตัวอย่างการนำ Temperature Controller ไปใชงานควบคุมความร้อน
Temperature Controller ไปใชงานควบคุมความร้อน
การใช้ควบคุมความเย็น Coll Control
สำหรับการควบคุมความเย็น นิยมนำไปควบคุมของพัดลม หรือระบบหล่อเย็น ทั่วๆไป หรืออาจนำไปควบคุมคอมเพรสเซอร์แอร์ มีฟังก์ชั่นการตัดต่อ แบบ ON-OFF control เพราะจะเป็นการช่วยป้องกันการทำงานบ่อยของแม็กเนติค มีระบบหน่วงไม่ให้ทำงานถี่เกินไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ได้
การใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Remote SV
ในระบบการผลิตที่ใช้ตัวควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) แบบ PID CONTROL จะเกิดความยุ่งยาก หากมีเครื่องควบคุมจำนวนมากๆ แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงค่า Set Point พร้อม ๆกันหลายๆตัว เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ของ TAIE จึงมีฟังก์ชั่น การควบคุมจากภายนอกโดยสัญญานอนาล็อก มาให้ได้ลองดูการทำงานด้วย (Option) ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนค่า SV (Set Point) จากภายนอกโดยลักษณะสัญญานต่างๆ เช่น : 0~20mA, 4~20mA, 0~5V, 1~5V, 0~10V, 2~10V เป็นต้น
การใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Remote SV
การติดต่อสือสารระหว่างอุปกรณ์ Communication
Temperature Controller หรือตัวควบคุมอุณหภูมิ ของเราเป็นการทำงานระบบ PID ยังมีฟังก์ชั่่นการเชื่อมต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ หลากหลาย เช่น HMI, PLC or SCADA การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว Modbus RTU communication protocol
การติดต่อสือสารระหว่างอุปกรณ์ Communication
การใช้งานฟังก์ชั่น Heater Break Alarm(HBA)
ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในการนำเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ไปใช้งานกับฮีตเตอร์ แล้วบังเอิญว่าเกิดฮีตเตอร์หรือขดลวดความร้อนในระบบนั้นไม่ร้อน (ฮีตเตอร์ขาด) อุณหภูมิลดลง ทำให้ชิ้นงานหรือการผลิตเสียหาย เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller)ยังมีฟังก์ชั่นตรวจจับฮีตเตอร์ขาดได้อีกด้วย และจะส่งสัญญานอะลามบอกให้รู้ว่าขณะนี้มีฮีตเตอร์ขาดเกิดขึ้น
การใช้งานฟังก์ชั่น Heater Break Alarm(HBA)
การใช้งานตัวควบคุมอุณหภุมิแบบ Powerful Program Control
ในงานควบคุมอุณหภูมิการอบชิ้นงานบางอย่าง จำเป็นต้องมีการอบที่อุณหภูมิต่างๆ หลายๆอุณหภูมิ หรือ เป็นช่วงๆ เวลา เพื่อรักษาคุณภาพของชิ้นงานไม่ให้เสียรูป ในกระบวนการผลิต ซึ่งในตัวควบคุมอุณหภูมิ TAIE ที่เราเป็นตัวแทนจำหน่าย มีรุ่นที่สามารถทำ โปรแกรมได้ถึ่ง 18 patterns of 8 segments of program control และเมื่อเสร็จขั้นตอน สเต็ปสุดท้ายก็จะมีเอาท์พุตอะลามเตือนอีกครั้ง