การเลือกใช้ Temperature Controller ต้องดูอะไรบ้าง
วิธีการเลือกใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิ หรือ TEMPERATURE CONTROLLER ดูอย่างไร เลือกอย่างไรให้มีความเหมาะสมที่จะเหมาะกับงานที่จะทำการควบคุมอุณหภุมิ เพราะการออกแบบของ Temperauture Controller ของแต่ละแบบนั้น มักออกแบบมาเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการทำงานขอบแต่ละแบบ โดยเราสามารถเลือกตัวควบคุมอุณหภูมิได้ตามรายละเอียด ดังนี้
- Size of Temperature Controller ขนาดของการเจาะรูเพื่อทำการติดตั้ง Temperture Controller ตามปกติแล้วในประเทศเรานั้นจะอ้างอิงกันที่มาตรฐาน DIN 43700 ซึ่งจะเป็นขนาดการเจาะบนแผงหน้าตู้คอนโทรลเพื่อใส่ตัวควบคุมอุณหภูมิ ดังรูปดังต่อไปนี้
ขนาดมาตรฐานในการติดตั้งของตัวควบคุมอุณหภูมิ
2.Input Sensor อินพุตของตัวควบคุมอุณหภูมิ ในปัจจุบัน Temperature Controller สามารถเลือกชนิดของอินพุตได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Thermocouple (เทอร์โมคัปเปิล) อาร์ทีดี (RTD) Pt100 หรือ สัญญานอนาล็อกมาตรฐาน 0-10V,4-20mA ในการเลือกชนิดของเซนเซอรืก็เพื่อให้เหมาะกับลักษณะการวัดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความละเอียด ความเที่ยงตรง สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ดียิ่งขึ้น
โดยเซนเซอร์ที่มีความละเอียดสูงนิยมใช้ อาร์ทีดี (RTD) หรือ Pt100 เนื่องจากมีความสามารถในการวัดเป็นเชิงเส้นได้ดี มีความเที่ยงตรง และแม่นยำสูง และในปัจจุบัน ราคาของเซนเซอร์ก็มีราคาไม่แพงอีกด้วย
ตัวอย่าง THERMOCOUPLE RTD PT100
3.Output Temperature Contrller สัญญานเอ้าท์พุต คือสัญญานที่ส่งไปควบคุมกับอุปกรณ์ภายนอกเพื่อนำไปต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในการขับโหลดเยอะๆ ซึ่งสัญญานทางด้านเอ้าท์พุตมีหลายหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป มักจะนิยมใช้ รีเลย์ ,สัญญานแรงดัน ,สัญญานอนาล็อกมาตรฐาน แต่สัญญานเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำการต่อกับโหลด หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าได้โดยตรง เพราะอุปกรณ์หรือโหลดมักจะมีการขับกระแสที่สูงและมีขนาดใหญ่ได้
4.Action Controller การควบคุมการทำงาน เป็นการแบ่่งการทำงานของ TEMPERATURE CONTROL ซึ่งอาจจะแบ่งการควบคุม ทางด้านความร้อนหรือความเย็น หรือทั้งสองแบบ (ร้อนและเย็น HEAT and COOL)
Heating Control การควบคุมอุณหภูมิด้านความร้อน ซึ่งจะทำการควบคุมเป็นแบบ PID CONTROL หรือ ON-OFF CONTROL แล้วแต่จะเลือก ส่่วนใหญ่จะทำการควบคุมโหลดประเภท ฮีตเตอร์ บอล์ยเล่อ ต่างๆ ให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น
Cooling Control การควบคุมอุณหภูมิทางด้านความเย็น จะทำการควบคุมเป็นแบบ ON-OFF หรือ PID CONTROL ก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานกับพัดลม หรือคอมเพรสเซอร์ เพื่อช่วยระบายความร้อน หรือระบบน้ำเย็นนั่นเอง
Heating / Cooling Control เป็นการทำงานควบคุมความร้อนและเย็นสลับกันไปมา ซึ่งตัวทำความร้อนส่วนใหญ่จะเป็นการควบคุมฮีตเตอร์หรือขดลวดความร้อน ส่วนทางด้านเย็นก็จะทำการควบคุมระบบหล่อเย็น หรือน้ำเย็น หรือเป็นการระบายความร้อนนั่นเอง ระบบนี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
Action Controller การควบคุมการทำงาน Heating / Cooling Control
5.Alarm Function ฟังก์ชั่่นอะลาม เป็นลักษณะของการเตือนของตัวควบคุมอุณหภูมิ จะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานโดยตรง แต่จะทำหน้าที่ ช่วยเตือน ของระบบการทำงานนั้นๆ หรือการเฝ้าระวังระบบการทำงานที่กำลังควบคุมอยู่ เช่น ป้องกันการเตือนไม่ให้อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่า Set point ที่ตั้งไว้ ถ้าหากสูงหรือต่ำกว่า ฟังก์ชั่นอะลามก็จะทำงานโดยมีหน้าคอนแทค เป็นตัวทำงาน อาจจะนำไปต่อเข้ากับสัญญานเตือนต่าง เช่น อุปกรณ์สัญญานเตือนต่างๆ กริ่ง ระฆัง ไฟฉุกเฉิน เป็นต้น
Heater Break Alarm Function